เมื่อพระราชบัญญัติการบัญชีได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2543 ทำให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของกิจการ คือ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี ซึ่งในพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการเป็น "ผู้ทำบัญชี" ตามกฎหมาย โดยกำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีไว้ตามประกาศของกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของ
การเป็นผู้ทำ บัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2543 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวสรุป ได้ดังนี้
ผู้ทำบัญชี หมายถึง ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว กรณีที่เป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หัวหน้าสำนักงาน กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี ที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบ ในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จัดตั้งในรูปคณะบุคคล กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี
กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล บุคคลธรรมดา กรณีที่เป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ผู้ช่วยผู้ทำบัญชีตามที่กำหนดในข้อ 7 (3) ซึ่งก็คือ "ผู้ทำบัญชีที่รับทำ บัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ปีละเกินกว่า 100 รายต้องจัดให้มีผู้ช่วยทำบัญชีซึ่งมีคุณวุฒิเช่นเดียวกับผู้ทำบัญชี อย่างน้อย 1 คนในทุกๆ 100 รายที่เกิน 100 รายแรก เศษของ 100 ถ้าเกินกว่า 50 ให้นับเป็น 100 การนับจำนวนของ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ให้รวมถึงผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว หรือที่ยังไม่ได้เริ่ม ทำการค้าขายหรือประกอบการงาน บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุตาม 1. 2. 3. 4. 5. และ 6. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการทำบัญชีของ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี ตามประกาศของกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไข ของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2543 นั้น ได้กำหนดให้ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ใน ราชอาณาจักร มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะ ทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้ ไม่เคยต้องโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายว่า ด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี มีคุณวุฒิดังต่อไปนี้
ก. ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีที่บัญชีที่ผ่านมา มี ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
ข. ผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากงานบัญชี หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษา ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชี ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์รวมหรือรายได้รวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่า ที่กำหนดไว้ใน ก.
2) บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
4) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
5) ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย
6) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ค. ในกรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามที่กำหนดไว้ใน ก. และ ข. แล้วแต่กรณี
ข้อสังเกต กฎหมายไม่ได้กำหนดประสบการณ์การทำงานของ "ผู้ทำบัญชี"
ผู้ทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน ในกรณีที่เป็นผู้ทำบัญชีของ บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีข้างต้นใน 4. ก. หรือ ข.