การจัดทำงบการเงินของกิจการนั้น ก่อนที่จะออกมาเป็นงบการเงินนั้นจะต้องมีเอกสารหลักฐานทางการค้าแล้วนำมาบันทึกในสมุดบัญชีต่างๆ แล้วผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทเสร็จแล้วเก็บงบทดลองเพื่อพิสูจน์ ความถูกต้องในการบันทึกบัญชี แล้วจึงจะจัดทำงบการเงินของกิจการ ปัญหาของกิจการที่ต้องใช้ความระมัดระวังก็คือ งบการเงินจะไม่น่าเชื่อถือหรือไม่ถูกต้องได้เลย
หากระบบเอกสารที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชีไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นกฎหมายบัญชีที่ได้กำหนดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ดังนี้
เอกสารประกอบการลงบัญชี หมายถึง บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
เอกสารประกอบการลงบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้เชื่อถือได้ว่า มีรายการค้าต่างๆ เกิดขึ้นจริง ในการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดีตามหลักการบัญชีได้กำหนดไว้แต่เพียงว่า เมื่อมีรายการค้าเกิดขึ้นให้นำไปบันทึกบัญชีเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางบัญชีที่กิจการได้มีการประกอบธุรกิจ แต่ทางประมาลรัษฎากรได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขของเอกสารที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชีเอาไว้ในมาตรา 65 ตรี (9) (13) (18) ดังนี้ (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้ (13)รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ (18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ
จากเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในเรื่องของเอกสารหลักฐานประกอบการคำนวณกำไรสุทธิจะพิจารณาได้ดังนี้